การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 และ 2: การสำรวจการปนเปื้อนของดินและน้ำใต้ดิน

การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 และ 2: การสำรวจการปนเปื้อนของดินและน้ำใต้ดิน

นิคมอุตสาหกรรมปราจีนบุรี ประเทศไทย

บริษัท เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ได้รับมอบหมายจากบริษัทชั้นนำในด้านการผลิตเส้นใยคุณภาพสูงให้จัดทำการศึกษาและตรวจสอบการลงทุนก่อนการซื้อขายที่ดิน 50 เฮกแทร์ สำหรับโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเส้นใย Lyocell ที่ทันสมัยแห่งใหม่ โดย บริษัท เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ได้รับเลือกให้จัดทำการประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 และ 2 ตามมาตรฐาน ASTM E1527-13 และ E1903-11 รวมถึงบริการอื่นๆที่นอกเหนือจากขอบเขตของมาตรฐาน ASTM ซึ่งประกอบไปด้วย การสำรวจด้านปฐพีกลศาสตร์ การประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วม การสำรวจภูมิประเทศ การสูบทดสอบน้ำบาดาล และการคัดกรองโครงการด้าน EIA

การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 ประกอบด้วย การศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น การลงสำรวจพื้นที่การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นผู้ที่รู้ข้อมูลและรายละเอียดของพื้นที่โครงการเป็นอย่างดี ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปพัฒนากรอบแนวความคิดที่แสดงลักษณะพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษ (Conceptual Site Model: CSM) และยังช่วยให้เราวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ของพื้นที่ว่ามีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของดินและน้ำใต้หรือไม่

การตรวจสอบพื้นที่ในขั้นที่ 2 นั้น จะมุ่งเน้นไปในบริเวณที่มีความเป็นไปได้ของการปนเปื้อนในพื้นที่โครงการซึ่งได้ระบุไว้ในการประเมินขั้นที่ 1 โดยขอบเขตของงานประกอบด้วย การเจาะสำรวจชั้นดินบนพื้นที่โครงการจำนวน 11 จุด การขุด Trial Pits จำนวน 8 จุด การติดตั้งบ่อสังเกตการณ์น้ำบาดาล และการสูบทดสอบเพื่อหาปริมาณการใช้น้ำบาดาลอย่างยั่งยืน ซึ่งตัวอย่างดินและน้ำใต้ดินที่เก็บได้จากขั้นตอนนี้นั้นจะถูกนำส่งไปยังห้องปฏิบัติการทางสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO:17025 เพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนต่อไป
การสำรวจด้านปฐพีกลศาสตร์ ประกอบด้วย การเจาะสำรวจชั้นดินลึกเพิ่มอีก 26 จุด และการขุด Trial Pits จำนวน 8 จุด สำหรับการทดสอบคุณสมบัติดินในสนามและนอกสนาม

เรามีการประยุกต์ใช้วิธีการที่หลากหลายในการรวบรวมข้อมูลและหลักฐานเพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วมของพื้นที่ศึกษา โดยตรวจสอบข้อมูลน้ำท่วมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันรวมถึงข้อมูลภูมิสารสนเทศ การสัมภาษณ์หน่วยงานรัฐบาลและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวมไปถึงการลงพื้นที่สำรวจบริเวณรอบโครงการเพื่อหาแนวระดับน้ำท่วม
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพื่อทำการคัดกรองเบื้องต้นว่าโครงการก่อสร้างและกิจกรรมของโรงงานนั้นมีความ จำเป็นที่จะต้องดำเนินการด้าน EIA ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยหรือไม่