การมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ให้บริการด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครบวงจรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment, SIA) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental & Social Impact Assessment, ESIA) เอสแอลพีได้เสนอบริการแบบครบวงจรตั้งแต่กระบวนการระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขั้นต้น (Stakeholder ID) จนถึงการเตรียมแผนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement Plan, SEP) และการเปิดเผยโครงการ การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation, PC) และในกรณีที่จำเป็นต้องเกิดการโยกย้ายเวนคืนสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เอสแอลพีมีบริการการจัดเตรียมทะเบียนทรัพย์สินการโยกย้ายเวนคืนของผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ (Project Affected People, PAP) รวมไปถึงแผนปฏิบัติการโยกย้ายเวนคืนและฟื้นฟูพัฒนาชุมชนและความเป็นอยู่ของผู้ได้รับผลกระทบ

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอลมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีถึงข้อกำหนดกฎหมายที่บังคังใช้เกี่ยวกับด้านการประเมินและการจัดการผลกระทบด้านสังคมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการในทุกประเทศอาเซียน นอกจากนี้เรายังมีความเชี่ยวชาญในการให้บริการด้านการประเมินด้านสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติที่ดีในระดับสากลของภาคอุตสาหกรรม (GIIP) โดยเราจะใช้หลักเกณฑ์และมาตรฐานเหล่านี้ในการเปรียบเทียบ เช่น

  • หลักเกณฑ์ปฏิบัติที่ดีจากบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation, IFC)
  • มาตรฐานการปฏิบัติงานจากบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation, IFC)
  • คู่มือการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation, IFC)
  • คู่มือการย้ายถิ่นฐานจากบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation, IFC)
  • นโยบายการป้องกันความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank, ADB)
  • แนวทางสำหรับการประเมินทางสิ่งแวดล้อมและสังคมทั่วไปตามองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)
  • MPE แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง; และ
  • แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Mekong Partnership for the Environment, MEP)
  • หลักการอีเควเตอร์ (Equator Principles)

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล มีความเข้าใจเกี่ยวกับข้อบังคับเกี่ยวกับการประเมินและการจัดการผลกระทบทางสังคมของโครงการในภูมิภาคอาเซียนเป็นอย่างดี

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล สามารถให้คำปรึกษาการจัดการมีส่วนร่วม (ICP) เพื่อให้มั่นใจว่าความกังวลและความคิดเห็นของบุคคลและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ (PAP และ PAC) ถูกนำมาพิจารณาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาโครงการตั้งแต่แรกเริ่ม โดยในส่วนของขั้นตอนการวางแผนการประเมินด้านสังคมนั้น เอสแอลพีใช้เทคนิคการสำรวจทางสังคมที่ให้ผลอย่างรวดเร็ว เช่น การสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเบื้องต้น, แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้างและการอภิปรายเบื้องต้นกับกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบหลักเพื่อประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการที่เสนอและเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและร่วมพัฒนาสภาพเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

จากกระบวนการข้างต้นนี้ เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอลจะทำการเตรียมแผนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (SEP) ซึ่งจะระบุถึงวิธีการดำเนินงานโดยละเอียดดังนี้ การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, การเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดของโครงการสู่สาธารณะ, การประชุมปรึกษาหารือสาธารณะ และกระบวนการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งแผนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นจะต้องได้รับการประเมินและปรับปรุงตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการ

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอลสามารถช่วยจัดการประชุมปรึกษาหารือสาธารณะซึ่งจะต้องดำเนินไปตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการ ซึ่งรวมไปถึงขั้นตอนการวางแผนและการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ, การศึกษาขอบเขตของการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมขั้นต้น (ESIA) และการศึกษาตามขอบเขตที่กำหนดของการประเมิน ESIA หลังจากการจัดทำ ESIA ฉบับร่างแล้ว เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอลจะปรับปรุงพัฒนาขอบเขตของการประเมินโดยจะดำเนินการประชุมปรึกษาหารือร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้แน่ใจว่าร่างการประเมินนี้จะครอบคลุมในทุกผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นโดยได้นำทุกข้อห่วงกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบจากโครงการมาพิจารณาอย่างครบถ้วน

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล สามารถจัดการให้คำปรึกษาและการมีส่วนร่วม (ICP) เพื่อให้มั่นใจว่าความกังวลและความคิดเห็นของบุคคลและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ (PAP และ PAC) ถูกนำมาพิจารณาเป็นปัจจัยในการพัฒนาโครงการตั้งแต่เริ่มแรก

วิธีการปรึกษาหารือสาธารณะสำหรับโครงการที่มีผลกระทบระดับสูง (โครงการประเภท A หรือ B) อย่างน้อยจะต้องทำการรวบรวมรายชื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและจัดการประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ หรือเป็นไปตามที่กฎหมายของประเทศนั้น ๆ กำหนด ทั้งนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจประกอบไปด้วยเจ้าของโครงการ, หน่วยงาน ราชราชการที่เกี่ยวข้อง, เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น, ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ, ชุมชน, องค์กรภาค ประชาสังคม (CSOs), องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGOs), สื่อมวลชนและสถาบัน การศึกษา

นอกจากนี้เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ยังจัดการประชุมกับกลุ่มผู้อ่อนไหวต่อผลกระทบและผู้ด้อยโอกาส (ตามที่ระบุไว้ใน SEP) เพื่อทำความเข้าใจถึงมุมมอง ความกังวล รวมถึงความต้องการของผู้ที่มักจะถูกตัดสิทธิ์และเป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจมากที่สุดในสังคม

หากผลการประเมินบ่งชี้ว่าโครงการอาจส่งผลกระทบต่อสังคมในระดับสูง เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอลจะทำการประเมินตัวเลือกอื่นเพื่อการบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามลำดับ โดยพิจารณาตัวเลือกซึ่งเรียงลำดับตามความพึงพอใจจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ หลีกเลี่ยง, ลดหรือยกเลิก ซึ่งทางเลือกหลักที่เอสแอลพีนำเสนอคือการหลีกเลี่ยงหรือลดผลกระทบทางสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นและเพิ่มผลกระทบเชิงบวกของโครงการ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีการย้ายถิ่นฐานของผู้ได้รับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการดำเนินโครงการก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอลจะร่วมมือทำงานกับลูกค้าเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถเจรจาต่อรองกับกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับย้ายถิ่นฐานโดยไม่สมัครใจ

ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบการย้ายถิ่นฐานของผู้ได้รับผลกระทบได้ เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอลจะร่วมมือทำงานกับลูกค้าเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถเจรจาต่อรองกับกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับย้ายถิ่นฐานโดยไม่สมัครใจ โดยมีจุดประสงค์หลักดังนี้ เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมโดยจะจัดหาพื้นที่ที่มีความปลอดภัยให้กับผู้ได้รับผลกระทบ, ชดเชยการสูญเสียทรัพย์สินและรายได้รวมถึงปรับปรุงหรือฟื้นฟูมาตรฐานการครองชีพของผู้ที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้หากการบังคับย้ายถิ่นไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เอสแอลพี ยังสามารถจัดการสำรวจสำมะโนประชากรของผู้ได้รับผลกระทบเพื่อยืนยันสถานะของผู้ที่ได้รับผลกระทบ, ดำเนินการลงทะเบียนทรัพย์สินของผู้ได้รับผลกระทบและทำงานร่วมกับลูกค้าในการกำหนดและประกาศวันที่ตัดสิทธิ์เข้ารับการพิจารณาภายใต้โครงการการตั้งถิ่นฐานใหม่หรือโครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ

ในกรณีที่มีชุมชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ก่อนแล้ว เจ้าของโครงการจำเป็นต้องประเมินตามมาตรฐานที่สูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องตามหลักการของฉันทานุมัติที่ได้รับการรับรู้บอกแจ้งล่วงหน้าและเป็นอิสระ (Free Prior Informed Consent, FRIC) เนื่องจากชนพื้นเมืองมีความเสี่ยงเป็นพิเศษหากที่ดินและทรัพยากรของพวกเขาถูกเปลี่ยน บุกรุก หรือลดลงเป็นอย่างมากจากผลกระทบของโครงการ เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอลจะช่วยให้ผู้เสนอโครงการคาดการณ์และหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการต่อชุมชนของชนพื้นเมือง ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบได้ เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอลจะทำงานร่วมกับผู้เสนอโครงการเพื่อลดผลกระทบ, ฟื้นฟูหรือชดเชยผลกระทบจากโครงการอย่างเหมาะสมและทำให้มั่นใจว่าการดำเนิน การตามหลัก FRIC นั้นได้นำไปดำเนินการแก่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบตามข้อกำหนดที่สอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติงานข้อที่ 7 ของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC Performance Standard 7)

เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล สามารถให้คำแนะนำแก่เจ้าของโครงการในการปฏิบัติตามข้อกำหนด IFC Performance Standard 2 ในด้านแรงงานและสภาพการทำงานและยังสามารถตรวจสอบโครงการในนามของผู้ให้กู้โครงการเพื่อพิจารณาว่าผู้กู้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของ IFC PS2 หรือไม่

งานบริการหลัก

  • การประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA)
  • แนวทางการปฏิบัติที่ดีในระดับสากลของภาคอุตสาหกรรม (GIIP)
  • การประเมินด้านสังคม (Social Due Diligence)
  • การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจสังคม
  • การใช้เทคนิคต่างๆในการออกสำรวจด้านสังคม
  • การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • แผนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (SEP)
  • การเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดโครงการ
  • กิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหลายภาคส่วน
  • การปรึกษาหารือสาธารณะ (PC)
  • การให้คำปรึกษาและการมีส่วนร่วม (ICP)
  • การประชุมกลุ่มย่อยสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
  • แผนการบรรเทาผลกระทบทางสังคม
  • แผนปฏิบัติการย้ายถิ่นที่อยู่
  • แผนการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ
  • ฉันทานุมัติที่ได้รับการรับรู้บอกแจ้งล่วงหน้าและเป็นอิสระ
  • การตรวจสอบแรงงานและสภาพการทำงาน
  • การให้คำแนะนำและการติดตามตรวจสอบ

โครงการที่โดดเด่น