พื้นที่เพาะปลูกเชิงพาณิชย์ขนาด 1,000 เฮกแทร์ ประเทศลาว
บริษัทเอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล (ประเทศลาว) ได้รับมอบหมายให้ทำการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESIA) สำหรับพื้นที่เพาะปลูกเชิงพาณิชย์ขนาด 1,000 เฮกแทร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศลาว โดยทางลูกค้ามีความต้องการเช่าสัมปทานพื้นที่ทางเศรษฐกิจ (ELC) เพื่อทำการเพาะปลูก โดยการศึกษานี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร และเป็นไปตามกฎหมายรัฐบาลประเทศลาว (GOL) โดยทาง บริษัท เอสแอลพี ได้รับหน้าที่ให้ดำเนินการดังนี้ 1) ประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมของโครงการต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ผู้คนและชุมชนในพื้นที่โครงการ 2) จัดทำและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเพื่อบรรเทาผลกระทบต่างๆ และส่งเสริมผลกระทบเชิงบวก
ขั้นตอนการศึกษาขอบเขตนั้นเริ่มจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของ บริษัท เอสแอลพี ลงสำรวจพื้นที่โครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุและจัดลำดับความสำคัญของผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงแนวโน้มต่างๆ การสอบถามหรือปรึกษาทั่วไป รวมไปถึงการตรวจทานข้อมูลทุติยภูมิ และศึกษารายละเอียดขั้นพื้นฐาน เช่น การสำรวจที่อยู่อาศัยและระบบนิเวศ การตรวจสอบคุณภาพทางสิ่งแวดล้อม การประเมินทรัพยากรน้ำ การสำรวจสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม และการลงทะเบียนสินทรัพย์ ซึ่งบริเวณที่มีความสำคัญทางสิ่งแวดล้อมและสังคมในพื้นที่โครงการนั้น จะถูกบันทึกและจำแนกโดยการใช้ GPS และ GIS เพื่อเก็บเป็นข้อมูลกลางจากการสำรวจ
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความปลอดภัยทางสังคมของ บริษัท เอสแอลพี เป็นผู้นำทีมและรับผิดชอบในเรื่องการพัฒนาแผนปฏิบัติการตั้งถิ่นฐานใหม่ (Resettlement Action Plan; RAP) และแผนการฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่ (Livelihoods Restoration Plan; LRP) ซึ่งเป็นไปตาม International Finance Corporation (IFC) และ Asian Development Bank
ผลจากการศึกษาขั้นต้นทางด้านสิ่งแวดล้อมได้ถูกประเมินไว้ในขั้นตอนการศึกษาถึงรายละเอียด และ การประเมินผลกระทบ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาถึงผลกระทบหลักที่เกิดจากโครงการต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยการศึกษานี้ตระหนักถึงข้อดีและข้อเสียทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงผลกระทบสะสมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจากกิจกรรมของโครงการ (ในการดำเนินการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ) และมีการระบุถึงพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงจัดทำแผนการจัดการและตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Management and Monitoring Plan; EMMP) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์พร้อมทั้งสนับสนุนและเสริมสร้างผลกระทบเชิงบวก