การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESIA)

การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESIA)

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์

บริษัทเอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ได้รับมอบหมายให้จัดทำการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESIA) สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนขนาด 300 เมกะวัตต์ที่กำลังมีการพัฒนาอยู่ในเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ โดยการศึกษา การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมสำหรับโครงการนี้ จัดทำเพื่อเป็นส่วนหนึ่งตามข้อกำหนดทางกฎหมาย ระดับชาติและ Good International Industry Practice (GIIP) ซึ่งมาตรฐานการศึกษาประกอบด้วย:

  • The ENVIRONMENTAL IMPACT ASSESSMENT PROCEDURE, Ministry of Environmental Conservation and Forestry, Notification No. 616 / 2015 (29 December 2015);
  • MONREC, The National Environmental Quality (Emission) Guidelines (EQG 2015);
  • International Finance Corporation (IFC), Environmental, Health, and Safety Guidelines, THERMAL POWER PLANTS (December 2008); and
  • International Finance Corporation (IFC), Environmental, Health, and Safety Guidelines ELECTRIC POWER TRANSMISSION AND DISTRIBUTION (April 2007)

กระบวนการการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรวมจะประกอบด้วยการศึกษาองค์ประกอบย่อยและกิจกรรมอื่นมากมาย โดยสรุปแล้วการศึกษานี้ประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ศึกษาและสำรวจข้อมูลพื้นฐานทางจราจร การทำแผนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเปิดเผยข้อมูลและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย การสร้างแบบจำลองการกระจายตัวของอากาศ การวิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจก การระบุและการประเมินผลกระทบ การวิเคราะห์ทางเลือกและการเตรียมการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงการวางแผนการตรวจสอบสำหรับโครงการ

วัตถุประสงค์หลักของการศึกษา ESIA คือ:

  • เพื่อการพัฒนารายละเอียดด้านสิ่งแวดล้อมและทางเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่โครงการ
  • เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการและระบุถึงส่วนกิจกรรมที่มีแนวโน้มการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสังคม
  • เพื่อให้มั่นใจว่าผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและ/หรือทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาโครงการนี้มีการระบุไว้อย่างชัดเจน และ
  • เพื่อพัฒนาแผนการจัดการและตรวจสอบทางสิ่งแวดล้อม(EMMP) ที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น หากเป็นไปได้ต้องมีการป้องกัน บริหารจัดการ และ/หรือลดผลกระทบนั้นๆ