การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

ผลิตภัณฑ์อาหารและปุ๋ยหมัก มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์

บริษัทเอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ได้รับมอบหมายให้ทำการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESIA) เพื่อทำการขออนุญาตจัดตั้งโรงงานผลิตน้ำตาลและปุ๋ยหมัก ในเขตมัณฑะเลย์ ใจกลางประเทศเมียนมาร์ การศึกษาเป็นไปตามข้อแนะนำของ IAIA ข้อกำหนดการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศเมียนมาร์ และมาตรฐานของบริษัทเงินลงทุนระหว่างประเทศ (IFC)

การศึกษาในระยะแรกประกอบด้วย การระบุผลกระทบเบื้องต้น โดยนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและนักสังคมศาสตร์ได้ทำการลงพื้นที่สำรวจโครงสร้างทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมรอบๆสถานที่ศึกษา และสุ่มสัมภาษณ์ประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบโครงการ ซึ่งอาจเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ (PAP) ผลการศึกษาถูกนำมาจัดทำขอบเขตของโครงการเพื่อจัดทำข้อกำหนดของผู้จัดจ้าง (TOR) เพื่อการจัดทำ ESIA แล้วนำเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประเมินและทำการอนุญาต

การศึกษาในระยะต่อมาประกอบด้วย การออกแบบการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยาและสังคม เพื่อให้ได้ข้อมูลของโครงการที่เฉพาะเจาะจง ข้อมูลนี้ถูกนำไปประเมินระหว่างการระบุผลกระทบและการประเมินผลการศึกษาในระยะที่สาม ซึ่งทำให้สามารถสรุปข้อมูลและจัดอันดับผู้ที่อาจได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากโครงการได้ หลังจากการระบุผู้ที่อาจได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและทางสังคมแล้ว ได้มีการจัดทำแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม และการตรวจสอบประสิทธิภาพ (EMMP) ประกอบกับแผนการพัฒนาด้านสังคมที่สามารถนำมาใช้กับโครงการ เพื่อสร้างความมั่นใจได้ว่าผลกระทบต่างๆที่ได้ทำการศึกษาลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ