การประเมินด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Due Diligence)

การประเมินด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Due Diligence)

การนำเสนอผลการดำเนินงาน ณ กลุ่มสถานประกอบกิจการด้านการศึกษาระดับนานาชาติ ประเทศไทย

บริษัทเอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล จำกัด (หรือในนาม “เอสแอลพี”) ได้รับมอบหมายจากกองทุนรวมระดับนานาชาติ ให้ทำการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESDD) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการซื้อขายธุรกิจของบริษัทประกอบกิจการด้านการ ศึกษาระดับนานาชาติหลายแห่งในประเทศไทย บริษัทเป้าหมายมีสถานศึกษาระดับนานาชาติขนาดใหญ่หลายแห่งและบางแห่งยังอยู่ ในขั้นตอนการก่อสร้างและรวมถึงยังอยู่ในแผนการพัฒนา โดยกรอบการดำเนินสำหรับการประเมิน ประกอบไปด้วย

  • ข้อกำหนดด้านกฎระเบียบระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
  • มาตรฐานการปฏิบัติงานของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) ตามมาตรฐานที่ 1, 2, 3, 4 และ 8
  • มาตรฐานการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม, สุขภาพและความปลอดภัยทั่วไปของสถานประกอบกิจการด้านการให้บริการด้านสุขภาพจากกลุ่มสถาบันการเงินระดับโลก
  • การปกป้องคุ้มครองเด็ก จากมาตรฐานการป้องกันคุ้มครองเด็ก (Child Safeguarding Standard, 2001) และ
  • สุขอนามัยทางอาหารในระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีในระดับสากล

โดยจุดประสงค์หลักของการประเมินคือการระบุช่องว่างในประสิทธิภาพการดำเนินงานในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของสถานประกอบกิจการเป้าหมาย โดยเทียบกับมาตรฐานการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องและรวมไปถึงการจัดเตรียมแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESAP) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของบริษัทเป้าหมาย ให้มีกรอบการดำเนินงานสอดคล้องกับมาตรฐานการดำเนินงานที่ดีของภาคอุตสาหกรรมในระดับสากล (GIIP)

โดยขอบเขตของการศึกษาของเอสแอลพีจะประกอบไปด้วย การตรวจสอบระบบจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมขององค์กร, การลง พื้นที่ตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ณ โรงเรียนหลายแห่งที่ยังคงกำลังดำเนินการอยู่, การตรวจสอบเอกสารด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์กับลูกจ้างทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทโดยใช้มาตรฐานระดับสากลด้านการปกป้องคุ้มครองเด็กและสุขอนามัยทางอาหารยังมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการประเมินในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของบริษัทอีกด้วย

ซึ่งการตรวจสอบด้านกฎหมายหรือการวิเคราะห์ช่องว่างและการระบุการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายที่สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานอ้างอิงนั้นจะถูกรายงานผลออกมาในรูปแบบของการเรียงลำดับตามความเสี่ยงตั้งแต่น้อย ปานกลาง ไปจนถึงความเสี่ยง ระดับสูง โดยผลการตรวจสอบที่อยู่ในระดับเสี่ยงปานกลางหรือเสี่ยงสูง จะถูกนำไปรวมอยู่ในแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ถูกเตรียมขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าจะช่วยลดช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมกับกรอบการดำเนินงานอ้างอิง

เอสแอลพีมีความเชี่ยวชาญในด้านการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมให้กับผู้ให้กู้โครงการ, นักลงทุนและผู้สนับสนุนโครงการอย่าง มากมายและรวมไปถึงได้ทำการประเมินโครงการต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคอาเซียนมามากกว่าร้อยโครงการอีกด้วย