การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 และ 2

การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 และ 2

พื้นที่อุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย

ทีมงาน เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ได้รับมอบหมายจากลูกค้าโรงงานผลิตสารกึ่งตัวนำระหว่างประเทศให้ดำเนินการศึกษาตรวจสอบการเข้าถือสิทธิ์ในพื้นที่ 1 เฮกแตร์ในพื้นที่ภายในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อก่อสร้างโรงงานใหม่ ซึ่งเอสแอลพีได้ลงนามในสัญญาเพื่อดำเนินการประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 และ 2 (ตามมาตรฐาน ASTM E1527- และมาตรฐาน E1903 ตามลำดับ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการตรวจสอบการซื้อขายธุรกิจ

การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 ประกอบด้วย การศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น, การลงพื้นที่สำรวจและการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลโครงการ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปพัฒนาแนวทางเบื้องต้น (Conceptual Site Model: CSM) สำหรับพื้นที่ศึกษาและระบุแหล่งการปนเปื้อนที่เป็นไปได้ (REC) ในบริเวณพื้นที่ศึกษา

การตรวจสอบพื้นที่ในขั้นที่ 2 นั้น จะมุ่งเน้นไปในบริเวณที่มีความเป็นไปได้ของการปนเปื้อนในพื้นที่โครงการซึ่งได้ระบุไว้ในการประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมในขั้นที่ 1 โดยขอบเขตของงานประกอบด้วย การเจาะสำรวจดินและการเก็บตัวอย่างดินบนพื้นที่โครงการจำนวน 3 แห่ง เมื่อเจาะดินถึงระดับความลึกที่กำหนดจึงติดตั้งบ่อติดตามคุณภาพน้ำใต้ดินและดำเนินการเก็บน้ำตัวอย่างน้ำใต้ดิน ซึ่งตัวอย่างดินและน้ำใต้ดินที่เก็บได้จากขั้นตอนนี้นั้นจะถูกนำส่งไปยังห้องปฏิบัติการทางสิ่งแวดล้อมภายนอกพื้นที่โครงการ ส่วนพารามิเตอร์ต่างๆที่ตรวจวัดบริเวณพื้นที่หน้างาน (Field Monitoring of Selected Parameters) ได้ดำเนินการภายในพื้นที่โครงการ

ตัวอย่างดินและน้ำใต้ดินได้ถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO:17025 เพื่อตรวจหาระดับการปนเปื้อนภายใต้การดำเนินการตามเอกสารหลักแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน (Chain of Custody) อย่างเคร่งครัด ซึ่งภายหลังได้ผลการวิเคราะห์แล้วนั้น เอสแอลพีได้ดำเนินการประเมินระดับการปนเปื้อนของดินและน้ำใต้ดินของพื้นที่โครงการโดยใช้ค่ามาตรฐานของประเทศไทย

ผลการประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนที่ 1 และ 2 ได้ถูกนำเสนอโดยรวบรวมเป็นรูปแบบรายงานฉบับเดียวกัน ประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ได้แก่ ขั้นตอนการดำเนินงาน ผลการประเมิน สรุปผลการประเมิน และข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะต่อโครงการ โดยเอกสารส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รูปประกอบรายงาน แผนหรือขั้นตอนการดำเนินงาน แบบบันทึกผลทางวิศวกรรม ผลการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการ และสารบัญรูปได้ถูกรวบรวมไว้ในส่วนของภาคผนวกของรายงาน