การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 และ 2

การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 และ 2

จอแสดงผลอิเล็กทรอนิกส์ เซเร็มบัน ประเทศมาเลเซีย

บริษัทเอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ได้รับมอบหมายจากลูกค้าผู้ผลิตรายใหญ่ให้จัดทำรายงานการประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 ควบคู่ไปกับขั้นที่ 2 โดยยึดหลักการตามมาตรฐาน ASTM E1527-13 และ E1903-11 ตามลำดับ ณ โรงงานผลิตจอแสดงผลอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งอยู่ในเขตเซเร็มบัน รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน ประเทศมาเลเซีย โดยจุดประสงค์หลักของการตรวจสอบครั้งนี้ คือ ทำการประเมินสภาพดินและน้ำใต้ดินว่ามีการปนเปื้อนหรือไม่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการธุรกรรมการซื้อขาย

การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 ประกอบไปด้วย การสำรวจพื้นที่และบริเวณโดยรอบ การสัมภาษณ์ข้อมูลที่เป็นประเด็นสำคัญ สอบถามพูดคุยกับเจ้าของพื้นที่ และผู้อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ในอดีต ข้อมูลทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ เพื่อใช้ในการพัฒนาแบบจำลองความคิดเบื้องต้น และสามารถนำแบบจำลองนี้ไปใช้ในการพิจารณาถึงสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ว่ามีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนหรือไม่

การประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 2 ประกอบไปด้วย การสำรวจพื้นที่อย่างละเอียดโดยมุ่งเน้นไปยังบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนซึ่งได้ระบุไว้ในการประเมินขั้นที่ 1 ขอบเขตของงานประกอบไปด้วยการขุดเจาะเปิดชั้นคอนกรีต ตามด้วยการขุดเจาะหลุมสำรวจทั้งหมด 5 หลุม ที่ความลึกระหว่าง 6 – 8 เมตรใต้พื้นดิน และเก็บตัวอย่างดินในแต่ละจุด นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งบ่อสังเกตการณ์ชั่วคราวในหลุมที่เจาะไว้ และดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำในบ่อ โดยตัวอย่างจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานจาก ISO 17025 เพื่อตรวจหาสารเคมีที่อาจปนเปื้อนอยู่ในพื้นที่

การสำรวจตำแหน่งบ่อน้ำบาดาลและความลาดชันของพื้นที่จัดทำขึ้นเพื่อระบุทิศทางการไหลของน้ำใต้ดินในชั้นหินอุ้มน้ำ โดยทุกขั้นตอนของการตรวจสอบและการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมนั้น ทางเรามีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวดตลอดการศึกษา

ผลการตรวจสอบจากทางห้องปฏิบัติการจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์การปนเปื้อนของประเทศมาเลเซีย และ US EPA (Tier 1 Screening) เพื่อระบุสถานะการปนเปื้อนของพื้นที่ และจัดทำรูปเล่มรายงานการประเมินพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 และ 2 ซึ่งมีรายละเอียดของการดำเนินงานทั้งหมด พร้อมข้อสรุปที่เข้าใจง่าย รวมไปถึงข้อเสนอแนะ และภาพรวมทางความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ศึกษา