การตรวจสอบการปฏิบัติตามด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัย และสังคม

การตรวจสอบการปฏิบัติตามด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัย และสังคม

เหมืองถ่านหิน เขตสะกาย ประเทศเมียนมาร์

บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม เอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล ได้รับมอบหมายโดยผู้กู้ยืมเงินในนามของบริษัท เงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) ให้ดำเนินการตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (E&S) รวมถึงการสอบการปฏิบัติตามด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นระยะเวลา 4 ปีติดต่อกัน (ปีละ 2 ครั้ง) ให้กับเหมืองถ่านหินระดับ Category A ซึ่งตั้งอยู่ในเขตสะกาย ประเทศเมียนมาร์ โดยมีจุดประสงค์หลัก คือ เพื่อประเมินความสอดคล้องในการดำเนินงานของผู้กู้ยืมเงินกับข้อกำหนดเฉพาะของโครงการตามแผนการดำเนินงาน ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESAP) มาตรฐานการปฏิบัติงานของ IFC ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อกำหนดเฉพาะ ด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม ของธนาคารโลก และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่โครงการกำหนดขึ้น

โครงการนี้ประกอบไปด้วยเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่และกิจกรรมอื่นๆที่เกียวข้อง เช่น การบำรุงรักษา heavy equipment การจัดเก็บถ่านหิน การขนถ่ายวัสดุ ที่พักคนงาน และคลังน้ำมันเชื้อเพลิงโดยโครงการนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่สูง ในเขตชนบท ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติซึ่งถูกจัดให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ “ถูกคุกคาม” และได้รับการยืนยันว่าภายในขอบเขตพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการ (AOI) นั้นมีสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่นี้ อาศัยอยู่ด้วย เช่นกัน

นอกเหนือจากเอกสาร ESIA และ ESMP ที่จัดทำขึ้นสำหรับโครงการแล้ว นโยบายต่างๆและแผนการย่อยด้าน E&S ก็ได้รับการพัฒนาเพื่อโครงการนี้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (รวมถึง แผนการจัดการชดเชยความหลากหลายทางชีวภาพ) แผนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (รวมถึงขั้นตอนการร้องทุกข์) แผนงานการบริหารจัดการผู้รับเหมา ขั้นตอนการคัดกรองผู้จัดจำหน่ายสินค้า กลไกการร้องทุกข์ของคนงาน แผนที่พัก ของคนงาน และโครงการสุขภาพชุมชน

ในส่วนของการตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมนั้น เราได้ดำเนินการ ตรวจสอบการปฏิบัติตามด้าน OHS ของเหมืองถ่านหิน เทียบกับรายการตัวชี้วัดผลปฏิบัติงานหลักที่เราพัฒนาขึ้น สำหรับเหมืองถ่านหินโดยเฉพาะ รวมถึงให้คำแนะนำและให้การสนับสนุนด้านเทคนิคต่างๆ แก่ผู้กู้ยืมอีกด้วย ไม่ว่าจะ เป็นการเสริมสร้างศักยภาพ การดำเนินการตรวจสอบทางเทคนิค และการฝึกอบรม ณ ขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น

รายงานของเราประกอบไปด้วยตารางการติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยซึ่งจะช่วย ให้ผู้อ่านเข้าใจถึงการปรับปรุงแก้ไขปัญหา และการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้ในคราวต่อไป